วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

DLNA

DLNA

สวัสดีครับพี่ๆ น้องๆ ชาว Droidsans ทุกคน วันนี้ผมจะมารีวิวกันแบบถึงพริกถึงขิงกันไปเลยกับเทคโนโลยี DLNA หรือ Digital Living Network Alliance นั่นเอง
มาทำความรู้จักกับ DLNA กันสักนิดก่อนนะครับว่ามันคืออะไร เจ้า DLNA หรือ  Digital Living Network Alliance ถ้าแปลตามตัวแล้วมันหมายความว่า พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย งงมั๊ยหล่ะ งงหล่ะสิ ผมก็งง
ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ DLNA ก็คือ เทคโนโลยีที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและทำงานร่วมกันได้โดยสร้างเป็นเครือข่ายย่อมๆ ขึ้นมาภายในบ้านเพื่อใช้แชร์ไฟล์หรือดึงไฟล์มาใช้งานภายในเครือข่ายย่อมๆ นั้นนั่นเอง เช่นการแชร์ไฟล์จากโทรศัพท์ไปแสดงบนทีวี หรือทีวีทำการรีโมทแล้วดึงไฟล์มาจากโทรศัพท์มาแสดงบนตัวเอง เป็นต้น
อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี DLNA นั้นจะทำงานอยู่ 2 สถานะหลักๆ ที่ใช้เป็นประจำคือเป็น ผู้แชร์ไฟล์ให้คนอื่น(DMS) หรือเป็นผู้เล่นไฟล์จากเครื่องอื่น(DMP) แต่ที่น่าสนใจคืออุปกรณ์นั้นสามารถที่จะอยู่ใน 2 สถานะนี้ได้ในเวลาเดียวกัน คือทั้งแชร์ให้คนอื่นและดึงคนอื่นมาเล่นได้ในเวลาเดียวกันว่างั้นเถอะ
แต่สุดท้ายแล้วตามทฤษฎีที่เค้าว่าไว้ จริงๆ แล้วเจ้า DLNA เนี่ยมันมีอยู่ 4 โหมดหลักๆ ก็คือ
Digital media servers (DMS) - ทำตัวเองเป็น Server ที่แชร์ให้ชาวบ้านมาดึงไฟล์ไป
Digital media players (DMP) - ทำตัวเองเป็น Player ที่ไปดึงไฟล์ชาวบ้านเค้ามา
Digital media controllers (DMC) - ทำตัวเองเป็นนายคน ดึงไฟล์จากเครื่องนึง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องนึง
Digital media renderers (DMR) - ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น (โหมดที่ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ, เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
DLNA ไม่ใช่มีเฉพาะใน Smartphone ของ Samsung และใช้ได้เฉพาะ Smasung เท่านั้นนะครับ HTC LG Sony ก็สามารถใช้ความสามารถนี้ได้เช่นกันเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ผลิตเหล่านั้นก็มีเทคโนโลยี DLNA รวมอยู่ด้วยเช่นกัน แต่อาจจะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป หรือถ้าเป็น Android ก็สามารถใช้งานผ่านโปรแกรม iMediaShare หรือ skifta แทนก็ได้ครับ (ขอบคุณข้อมูลจากคุณ e-a-k และคุณ wanball
ตัวอย่างเช่น มือถือจะส่งไฟล์ไปยังทีวี ให้ทีวีแสดงผล แสดงว่ามือถือเป็น DMS และ TV เป็น DMR หรือ ทีวีทำการดึงไฟล์จากมือถือมาเพื่อเล่นบนทีวีเอง แบบนี้มือถือก็จะกลายเป็น DMS และ TV ก็จะกลายเป็น DMP แทน เป็นต้น
จบกันไปแล้วสำหรับทฤษฎี(ต้องบอกว่าพอกันทีมากกว่า) ต่อไปมาถึง Review จริงๆ สักที ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว DLNA สามารถทำได้ทั้งมือถือกับคอม, มือถือกับทีวี และคอมกับทีวี แต่ครั้งนี้เราจะมาเน้นไปที่ มือถือกับทีวี นะครับ เพราะเราจะเอามาใช้งานคู่กับ Samsung Galaxy SII และคิดว่าคงได้ใช้กับทีวีมากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการ Review ในครั้งนี้มีดังนี้
1. Samsung LED TV 42" Series 7 (เริ่มตั้งแต่ Sereis 5 แต่ไม่ทุกรุ่นนะครับ ถ้าตั้งแต่ Series 7 ขึ้นไปจะมี DLNA มาด้วยทุกรุ่นครับ)
2. Samsung Galaxy SII GT-i9100
3. Samsung Galaxy SII GT-i9100T
4. Samsung Galaxy S GT-i9000
5. Speaker Creative Gigaworks T40
6. Router TP-Link + RJ45[/P]
ขอขยายความและแจกแจงหน้าที่ของอุปกรณ์เพื่อความเข้าใจตรงกันเวลาอ่าน Review และดู Video
- Samsung LED TV 42" Series 7 ตัวนี้ทำหน้าที่เป็น DMP และ DMR ครับ
- Samsung Galaxy Series ทั้งหมดทำหน้าที่เป็น DMS, DMC และ DMP ครับ
ก่อนอื่นใดต้องให้มือถือของเราทำการเชื่อมต่อ WiFi เข้ากับ Router ที่บ้านก่อนนะครับ รวมถึง TV ก็ต้องเสียบสายแลนที่หลังเครื่องด้วยนะ มาถึงขั้นตอนแรกกันเลย ให้เราเข้าไปที่หน้าเมนูของเราก่อน แล้วหาเจ้า All Share ให้เจอ เพราะในมือถือเรา เจ้า All Share นี่แหละครับคือโปรแกรมในการเชื่อมต่อ DLNA ในบ้านเข้ากับมือถือเรา

เรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing

เรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing


Cloud Computing (อ้างอิงจาก http://www.bkk2.in.th/Topic.aspx?TopicID=983)
คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับ ความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำ งานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
Anywhere! Anytime! ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนก็ตาม ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์สักตัว คุณก็ทำงานได้ตลอดเวลา ตามที่คุณต้องการแล้ว
cloud coputing technology
การทำงานคร่าวๆของ Cloud Computing แบ่งออกได้ 2 ฝั่ง คือ Client กับ Server โดยการทำงานที่ฝั่ง Client ไม่มีอุปกรณ์อะไรยุ่งยาก นอกจากคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆเพียงเครื่องเดียว ใช้ Internet Browser สักตัวมาเปิดแล้วก็ทำงานได้เลย ทำให้คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรมากมายให้นักเครื่องอีกต่อไป ซึ่งต่างกับฝั่ง Server ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างๆมากมายเต็มไปหมด ในปัจจุบันอาจจะดูได้จากการทำงานร่วมกันของระบบ Google Chrome ไม่ว่าจะเป็น Google Doc, Google Calendar เป็นต้น
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง
  • Agility ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
  • Cost ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
  • Device and location independence ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่คอมพิวเตอร์ กับ Internet Connection
  • Multi-tenancy สามารถแบ่างทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก
  • Reliability ความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
  • Scalability พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ … ความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
  • Security สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลอรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัยให่มากยิ่งขึ้น
  • Sustainability โครงสร้างที่แข็งแรงต้องอาศัยความแข็งจากทุกส่วนรวมกัน
อนาคตนะครับ Notebook ประสิทธิภาพสูงๆ คงไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะ Cloud Computing ทำหน้าที่แทนให้เกือบหมด ใช้แค่ Netbook เล็กๆก็เพียงพอ
Image
Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันนี้กำลังได้รับการจับตามองอย่างมาก และกำลังอยุ่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากขึ้นโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ โดยในปัจจุบันนี้นั้นเทคโนโลยี Cloud Computing นั้น ได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยในเรื่องของโครงข่ายข้อมูลที่กำลังพัฒนาไป ได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อความเร็วสูงและรองรับข้อมูล มัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลสมัยๆอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ Cloud Computing นั้นสร้างความสนใจกับบรรดาเหล่าบริษัทน้อยใหญ่ขึ้นมาเป็นอย่างมาก
Image
โดยองค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น เพียงผู้ใช้งานนั้นมีเพียงแค่อินเตอร์เนทก็สามารถใช้งานบริการนี้ได้แล้ว วึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่ให้บริการต่างๆมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจน ถึง ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานมากแบบแยกชิ้นมากยิ่่งขึ้น นั้นก็คือ ผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกใช้ประเภทการให้บริการและจำนวน application ต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานจริง โดยจะเสียค่าใช้งานได้ตามปริมาณที่เราเลือกใช้งาน
Image
โดยการเข้ามาขของเทคโนโลยีนี้ในประเทศไทยนั้น เริ่มจะมีการพูดถึงและใช้งานอย่างแพร่หลายแล้วในปัจจุบันนี้ โดยไม่เพียงแค่องค์กรขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น ทั้ง ธุรกิจขนาดเล็กรวมไปถึงบุคคลทั่วไปก็ยังทำการใช้บริการเหล่านี้อยู่ จึงทำให้ในปัจจุบันนี้นั้น เทคโนโลยี คลาวด์นี้นั้นได้ผลตอบรับค่อนข้างดีจากคนในทั่วทุกมุมโลกเลย

ไอโฟน





ไอโฟนถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีคอนเซ็ปต์การดีไซน์รูปแบบแปลก ๆ ออกมาให้เราได้ชมกันมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็เป็นแนวคิดการออกแบบของเหล่าดีไซน์เนอร์แต่ละคนที่อวดฝีมือ กันด้วยจินตนาการที่ล้ำยุคจริง ๆ จนบางครั้งทำให้เราแยกไม่ออกว่ามันเป็นแค่คอนเซ็ปต์หรือเป็นโทรศัพท์มือถือ ที่มีตัวตนอยู่จริง ๆ มาถึงคอนเซ็ปต์ล่าสุดของไอโฟนที่มาพร้อมกับความล้ำยุคไปไกล ด้วยกล้อง 3 มิติพร้อมเลนส์ถ่ายภาพ DSLR กับคอนเซ็ปต์ที่มีชื่อว่า iPhone PRO

iPhone PRO เป็นผลงานการออกแบบของดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อว่า Choi Jinyoung เป็นไอโฟนที่มีขนาดหน้าจอ 4.5 นิ้ว ความละเอียด 1280x800 พิกเซล มาพร้อมกล้องถ่ายภาพ 3 มิติ ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล เสริมความคมชัดด้วยเลนส์กล้อง DSLR และฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลที่สามารถถอดออกได้ นอกจากนี้ยังให้เราเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ด้วยโปรเจ็กเตอร์ฝังอยู่ในตัว เครื่องพร้อมกับเลนส์ขยายภาพเพื่อฉายโปรเจ็กเตอร์ไปยังฉาก สำหรับคอนเซ็ปต์นี้เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดและไอเดียการออกแบบไอโฟนที่ล้ำยุค และฝีมือระดับมือโปรจริง ๆ ถ้าพร้อมแล้วมาติดตามชมภาพคอนเซ็ปต์ iPhone PRO ทั้งหมดกันเลย

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคอนเซ็ปต์การออกแบบที่ถูกจินตนาการขึ้นมาเท่านั้น แต่ก็ไม่แน่ในอนาคตข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นไอโฟนที่มีรูปลักษณ์แปลก ๆ และมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมครบชุดแบบนี้ก็ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางแอปเปิลว่าจะสนใจคอนเซ็ปต์เหล่านี้มากแค่ไหน เพื่อนำไปปรับใช้กับไอโฟนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556


IPv4

IPv4 มีขนาด 32 bit ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 bitClassful Addressingเริ่มแรกเลย IPv4 มีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Network ID และ Host ID ซึ่งการแบ่งเป็น 2 ส่วนนี้ (Two-level addressing hierarchy) จะมีชื่อเรียกว่า Classful addressing อย่างไรก็ตามการนำ IP Address แบ่งเป็น2 ส่วนนี้ ทำให้การใช้งาน IP Address ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลังต่อไปแล้ว Network ID กับ Host ID คืออะไรหล่ะ

Network ID คือ Network ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในโครงข่ายใด และ Network ID จะเป็นส่วนที่ Router ใช้สำหรับหาเส้นทาง (เช่น 192.168.1 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.0)Host ID คือ Host ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งใดของ Network (เช่น .2 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.2)ยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น1.1) กรณีเราที่จดหมาย เราก็จะจ่าที่อยู่ที่หน้าซองดังนี้18 ถ.รังสิต-องครักษ์ ธัญบุรี ปทุมธานี 121301.2) จดหมายจะถูกส่งไปยังที่ทำการไปรษณีย์ จากนั้นก็จะดูว่ารหัสไปรษณีย์อะไร- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์นั้น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางเลย- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์อื่น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังที่ทำการไปรณีย์ปลายทาง จากนั้นจดหมายจึงจะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางต่อไป2.1) กรณีเราส่ง E-mail เราก็จะทำการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง เราก็จะกรอก url (จริงก็คือ IP Address) ดังนี้192.168.1.22.2) ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง Router จากนั้น Router ก็จะดูว่าเป็น

Network ID อะไร- ถ้าเป็น Network ID ของ Router นั้น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ภายใน Router- ถ้าเป็น Network ID ของ Router อื่น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยัง Router ปลายทาง จากนั้นข้อมูลจึงจะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไปสรุป1. IPv4 จะมีกลุ่มตัวเลขอยู่ 4 ชุด แต่ละชุดขั้นด้วยจุด2. Classful Addressing จะมีรูปแบบเป็น 2 ส่วนคือ Network ID กับ Host ID3. Network ID คือส่วนที่ระบุว่า IP Address อยู่ในโครงข่ายใด และเป็นส่วนที่ Router ไว้ใช้ค้นหาเส้นทาง4. Host




Ipv6
 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ต
โพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุป
กรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์
เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

   หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต อย่างรวดเร็ว
นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และ
หากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The
Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก
(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง
ของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ
และความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล
แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
อนาคตได้เป็นอย่างดี